ฮอร์โมนบำบัด
Hormone replacement
การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone replacement)
Testosterone Injection
เทสโตสสเตอโรน หรือ Testosterone เป็นฮอร์โมนที่สำคัญเมื่อเกี่ยวข้องกับสุขภาพของทั้งผู้ชายและผู้หญิง ฮอร์โมนเทสโตสสเตอโรนขับเคลื่อนทั้งพลังงานและสมรรถนะของร่างกายรวมทั้งสมรรถภาพทางเพศ การไม่สมดุลของฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้ทั้งบุรุษและสตรีที่เกิดการพร่องฮอร์โมนโดยเฉพาะเมื่อพ้นวัย 40 ปีไปแล้ว รู้สึกหงุดหงิด กระดากอาย และหดหู่อย่างมากเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันของตน โชคดีที่มีวิธีซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่มระดับเทสโตสสเตอโรนโดยการบำบัดด้วยการใช้ฮอร์โมนทดแทน หรือ Testosterone therapy
ฮอร์โมนเทสโตสสเตอโรนถูกสร้างขึ้นที่ลูกอัณฑะของผู้ชาย และรังไข่ของผู้หญิงแต่จะมีการผลิตในปริมาณน้อยโดยต่อมหมวกไตของทั้งสองเพศ เทสโตสสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศตัวหลักของผู้ชาย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาของลักษณะเฉพาะของเพศชาย อันได้แก่เส้นผมและขน กล้ามเนื้อ เสียงทุ้ม ในผู้หญิง เทสโตสสเตอโรนจะถูกเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่รังไข่เป็นฮอร์โมนเพศหญิงเอสตร้าไดออล (Oestradiol)
ระดับของฮอร์โมนเทสโตสสเตอโรนจะลดลงเมื่อเรามีอายุเพิ่มขึ้น และผลกระทบทางเพศสัมพันธ์ไม่ใช่แค่เพียงสมรรถนะทางเพศที่ลดลงเท่านั้น แต่รวมถึงอารมณ์แปรปวน การเพิ่มขึ้นของไขมันในร่างกาย การสูญเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ผมร่วง ผิวแห้ง และ สมาธิลดลง ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนมักจะเริ่มลดลงเมื่ออายุราว 40 ปี ทำให้เกิดอาการต่างๆที่เป็นผลมาจากการพร่องฮอร์โมนดังกล่าวข้างต้น
การเสริมฮอร์โมนเทสโตสสเตอโรนด้วยฮอร์โมนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฮอร์โมนธรรมชาติในร่างกาย ( Bioidentical testosterone therapy) เป็นวิธีการเฉพาะในการบำบัดด้วยฮอร์โมน ที่ใช้รักษาผู้ป่วยซึ่งขาดฮอร์โมนตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะ มีผู้ชายวัยเกิน 40ปี จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสวงหาการเพิ่มฮอร์โมนเทสโตสสเตอโรนของพวกเขาในรูปแบบของยาเม็ด เจลทา และยาฉีด เพื่อ ปรับสมดุลย์ของฮอร์โมนเพศในร่างกายเพื่อที่จะมีสุขภาพดีและมีสมรรถภาพทางเพศที่สมบูรณ์
Human Growth Hormone replacement
โกรทฮอร์โมน (growth hormone หรือ somatotropin หรือ GH) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากส่วนหน้าของต่อมใต้สมอง (anterior pituitary gland) โครงสร้างโกรทฮอร์โมนประกอบด้วยกรดอะมิโน 191 ตัว การหลั่งฮอร์โมนนี้เกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของคนแต่ปริมาณที่หลั่งมีมากหรือน้อยแตกต่างไปตามวัย การหลั่งเกิดขึ้นมากในวัยเด็กซึ่งอยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต เด็กเล็กมีฮอร์โมนนี้ในระดับสูงและการหลั่งเกิดมากขณะหลับ ในผู้ใหญ่มีการหลั่งฮอร์โมนลดลงโดยเฉพาะผู้สูงอายุ โกรทฮอร์โมนมีฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยมีผลต่อเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะเกือบทุกชนิด ทำให้กระดูกของเด็กเจริญยาวขึ้นและเด็กมีรูปร่างสูงใหญ่ ส่วนในผู้ใหญ่ซึ่งหยุดสูงแล้วฮอร์โมนนี้ทำให้กระดูกกว้างและหนา โกรทฮอร์โมนมีความสำคัญต่อเมแทบอลิซึม (หมายถึงกระบวนการสร้างและสลายสาร) ของโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อพัฒนาการและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนการเรียนรู้
ประโยชน์ของโกรทฮอร์โมน
- ช่วยลดไขมันและช่วยลดน้ำหนัก ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
- มีผลคล้ายยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) และไม่มีผลข้างเคียง ช่วยลดความเครียด มีสมาธิมากขึ้น ฟื้นฟูความจำ และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
- ช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านกล้ามเนื้อ ช่วยเสริมกล้ามเนื้อ และเพิ่มความคงทนในการออกกำลังกาย
- ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว ช่วยให้ผิวเรียบเนียนขึ้นเหมือนดังผิวของคนหนุ่มสาว ทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดรอยเหี่ยวย่นบนผิวหน้าและตามร่างกาย ลดรอยตีนกา ช่วยฟื้นฟูให้กลับมาหนุ่มสาว
- มีผลช่วยต้านภาวะกระดูกพรุน และช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
- ช่วยกระตุ้นการสูบฉีดเลือดของหัวใจ (Cardiac output) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ออกกำลังกายได้มากขึ้น ลดภาวะความดันโลหิตสูง ปรับสมดุลของคอเลสเตอรอล ช่วยบรรเทาอาการของโรคหัวใจ
- ช่วยให้การหายของบาดแผลเร็วขึ้น เพราะไปช่วยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์คอลลาเจนซึ่งเป็นสารที่ช่วยฟื้นฟูบาดแผล สร้างเนื้อเยื่อให้ประสานกัน เนื้อเยื่อจะแข็งแรงขึ้น ผิวหนังยืดหยุ่นได้ดีช่วยทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งฟื้นฟูการยึดติดของกระดูกในผู้ป่วยกระดูกหัก ในผู้ป่วยบาดแผลจากไฟไหม้ขั้นรุนแรงและแผลจากการผ่าตัดได้ผลดี แผลหายเร็วขึ้น
โดยปกติโกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาเฉพาะในตอนที่เราหลับลึกเท่านั้น ช่วงเที่ยงคืนจนถึงตีหนึ่งครึ่ง หลังจากหลับไปแล้ว 1 ชั่วโมง ดังนั้น ถ้าหลับหลังตีหนึ่งเราจะไม่ได้โกรทฮอร์โมนเลย ดังนั้น การหลับที่ถูกต้องคือ หลับตั้งแต่สี่ทุ่มเพราะกว่าจะหลับลึกต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าชั่วโมง และปริมาณโกรทฮอร์โมนจะลดลงหรือถูกสลายไปเมื่อมีน้ำตาลสูง ดังนั้น ก่อนนอนจึงไม่ควรบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต
ภาวะขาดโกรทฮอร์โมน
ภาวะขาดโกรทฮอร์โมน หรือ ภาวะพร่องโกรทฮอร์โมน เกิดจาก ความผิดปกติของต่อมใต้สมองตั้งแต่กำเนิด เช่น ต่อมใต้สมองเล็ก ต่อมใต้สมองผิดรูป หรือ การมีเนื้องอกที่มากดที่ต่อมใต้สมอง ซึ่งอาจจะเกิดจาก อุบัติเหตุ หรือได้รับการผ่าตัด ความผิดปกติของต่อมใต้สมองตั้งแต่กำเนิด และการมีเนื้องอกที่มากดที่ต่อมใต้สมอง ส่งผลให้การหลั่งโกรทฮอร์โมนผิดปกติ
การขาดโกรทฮอร์โมนมีผลทำให้เกิดการแก่ชรา และโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชรา มีผลต่อการลดลงของสมรรถนะ และการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การเพิ่มโกรทฮอร์โมนเป็นหนทางการเพิ่มความอ่อนเยาว์ และคืนความกระชุ่มกระชวยให้แก่ร่างกาย จึงจัดเป็นกลุ่ม anti-aging หรือสารชะลอวัย
ข้อสังเกตเมื่อร่างกายขาดโกรทฮอร์โมน คือ ผมเริ่มหงอก ร่วง หรือผมบางจนเกือบล้าน ผิวหนังจะขาดความยืดหยุ่น ไม่ชุ่มชื้น ผิวแห้ง มีริ้วรอยเกิดขึ้น และเริ่มเหี่ยวย่น เพราะคอลลาเจนที่ช่วยทำให้ผิวเต่งตึงเริ่มลดน้อยลง สายตาจะเริ่มเปลี่ยน ความเปลี่ยนแปลงที่พบได้คือ เริ่มมีปัญหาสายตายาว อ่านหนังสือใกล้ ๆ จะเหมือนกล้องที่ไม่โฟกัส และยิ่งอายุเพิ่มขึ้น สายตาก็จะฝ้าฟางขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงระบบการเผาผลาญ การได้ยิน ความจำ กล้ามเนื้อ ฮอร์โมน และอื่น ๆ อีกที่เสื่อมถอยลงไป
ภาวะขาดโกรทฮอร์โมนรักษาอย่างไร
สามารถรักษาภาวะขาดโกรทฮอร์โมน โดยการฉีดโกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ โซมาโทรพิน Somatropin โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุกวันบริเวณท้อง ต้นแขน สะโพกส่วนก้น และต้นขา ควรเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดในแต่ละครั้งเพื่อป้องกันการฝ่อของเนื้อเยื่อไขมันในตรงที่ฉีด ทั้งนี้เมื่อฉีดแล้วต้องติดตามการรักษา ดูการเจริญเติบโตของกระดูก และดูน้ำตาลในเลือด
การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน(Hormone replacement) ที่สกินเซอร์ริตี้ คลินิก
- Testosterone Injection 10,000 บาท
- Human Growth Hormone replacement 15,000 บาท
Reference https://www.vitallifeintegratedhealth.com/th/blog/health/hormone-replacement-therapy-hrt-know-facts
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info-old.php?id=580
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Growth-Hormone-Deficiency
https://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=2052
ขั้นตอนการรักษา
ลูกค้าของเราคิดอย่างไร
จริงใจ อบอุ่น และปลอดภัย